พระปิยมหาราชแห่งกรุงสยาม
The Royal State Visit

ตามรอยพระมหากษัตริย์พุทธมามกะไทย

พระธัมมทานแก่มิตรประเทศทั่วโลก

ภาพปก ภ.ป.ร. และ ส.ก. ได้รับพระบรมราชานุญาตในรัชกาลที่ ๙ หนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๐๒.๕/๓๖๖๒ และ ที่ พว ๐๐๐๔.๑/๒๕๓๗๑ ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่นำมาประกอบ ได้รับพระบรมราชานุญาตในรัชกาลปัจจุบัน หนังสือกองกิจการในพระองค์ ที่ พว ๐๐๐๕.๑/๗๗๑

มหาราชแห่งสยามประเทศ
Monarchs from the Kingdom of Syām and Thailand

ตอนที่ 1/11

อาโร-ค๎ยปรมา ลาภา,
Āro-gyaparamā lābhā,

สัน์ตุฏ์ฐิปรมํ ธนํ;
Santuṭṭhiparamaṁ dhanaṁ;

วิส์สาสปรมา ญาติ,
vissāsaparamā ñāti,

นิพ์พานํ ปรมํ สุขํ.
Nibbānaṁ paramaṃ sukhaṁ.

ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความไว้วางใจกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

Health is the greatest gift,
Contentment is the greatest wealth,

A trusted friend is the greatest kin,

Nibbāna is the greatest Bliss.

Dhammapada No. 204
The Syām-Script Pāḷi Tipiṭaka 1893
The World Tipiṭaka in Roman-Script 2005
The Digital Preservation 2023 Edition
Reprinted by the Dhamma Society Fund

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
แห่งชาติไทย

ตอนที่ 2/11

“สองมหาราชทรงเจริญพระราชไมตรีในนานาประเทศ...เพื่อสันติสุขของไทย และมิตรประเทศทั่วโลก"

พระราชทานพระไตรปิฎก
อักษรสยามแก่นานาประเทศ

ตอนที่ 3/11

ฉบับ จ.ป.ร. พระไตรปิฎกธัมมทาน : ชุดหนังสือ ชุดแรกของโลก

ตอนที่ 4/11

กดดูตัวอย่างพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ 
ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๖

การพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ แก่นานาประเทศไม่น้อยกว่า 
๒๕๐ สถาบันทางการศึกษาทั่วโลกและปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้อย่างดีในหอสมุดสำคัญระดับนานาชาติ เช่น หอสมุดมหาวิทยาลัยโตเกียว หอสมุดมหาวิทยาลัยอุปซาลา หอสมุดมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด หอสมุดมหาวิทยาลัยออสโล หอสมุดมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับหนึ่งของ
สหรัฐ และมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก จักรวรรดิรัสเซียในอดีต เป็นต้น 

สัพ์พปาปัส์ส อกรณํ,
sabbapāpassa akaraṇaṁ,


กุสลัส์สูปสัม์ปทา;*

kusalassa upasampadā;


สจิต์ตปริโยทปนํ,

sacittapariyodapanaṁ,


เอตํ พุท์ธาน สาสนํ.

etaṁ buddhāna sāsanaṁ..


ไม่ทำความชั่วทั้งปวง,

ทำแต่ความดี;

ทำจิตใจให้ผ่องใส,

นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

Abstention from all Evil,

Cultivation only the Wholesome;

Purification of the Mind,

This is the teaching of the Buddhas.

Dhammapada No. 183
The Syām-Script Pāḷi Tipiṭaka 1893
The World Tipiṭaka in Roman-Script 2005
The Digital Preservation 2023 Edition

Reprinted by the Dhamma Society Fund

เอกลักษณ์ อักษรสยาม-ปาฬิ

ตอนที่ 5/11

การถอดอักษร (Transliteration) หรือ ปัจจุบันโครงการพระไตรปิฎกสัชฌายะเรียก ถอดอักขะระ (Akkhara) เช่น  ก์   เป็น k และการถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transcription) เช่น  พ์    เป็น b [บะ] แสดงองค์ความรู้ในทางนิรุตติภาสาที่เก่าแก่ในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกของชาติที่เป็นวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทยสากล ด้วยนวัตกรรมเครื่องหมาย ๓ ประการที่สามารถแบ่งพยางค์เสียงอย่างชัดเจนระหว่าง เสียงไม่สะกด เสียงสะกด และเสียงกล้ำ

องค์ความรู้ทางปาฬิภาสา และความเข้าใจในการถ่ายถอดอักษรเป็น อักษรสยาม-ปาฬิ (Pāḷi Syām-Script Transliteration) และ ถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transcription) คือ ตารางเทียบระหว่าง อักษรสยาม-ปาฬิ กับ โรมัน-ปาฬิ ตารางการถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transliteration) จึงเปรียบเสมือนลายแทงสำคัญที่เปิดประตูไปสู่องค์ความรู้ทางปาฬิ
ภาสา และ อักขรวิธีการอ่านและออกเสียงในพระไตรปิฎกสากล ตามกฎไวยากรณ์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า การออกเสียงสัชฌายะ (Saj-jʰā-ya Phonetic Recitation)  

จาก ฉบับสยาม สู่ ฉบับอักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ชุดแรกของโลก

ตอนที่ 6/11

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน พร้อมผู้แทนคณะทูตานุทูตของประเทศต่างๆ ที่เคยได้รับพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม

เสด็จฯ ประพาสนานาประเทศ ตลอด 70 ปี ครองราชย์อันยาวนาน

ตอนที่ 7/11

The city of New York greets the King of Thailand with a ticker tape parade on July 5, 1960 over 750,000 New Yorkers turned out to extend this warm welcome

จากฉบับสยามสู่ฉบับเสียงสัชฌายะ

ตอนที่ 8/11

พระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. พุทธศักราช ๒๕๕๙ ชุด ๘๐ เล่ม อ้างอิง ฉบับ อักษรโรมัน พุทธศักราช ๒๕๔๘ ชุด ๔๐ เล่ม ตรวจทาน สร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎกสากล เพื่อเผยแผ่เป็นพระธัมมทาน ตามรอยประไตรปิฎกธัมมทาน ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์เป็นชุดๆ แรกของโลก

พระราชศรัทธา
พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ตอนที่ 9/11

ภาพโดยได้รับพระบรมราชานุญาต

สัท์โธ สีเลน สัม์ปัน์โน,

saddho sīlena sampanno,


ยโสโภคสมัป์ปิโต;

yasobhogasamappito;

ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ,

yaṁ yaṁ padesaṁ bhajati,


ตัต์ถ ตัต์เถว ปูชิโต.

tattha tattheva pūjito.


ผู้มีสัทธา ถึงพร้อมด้วยสีล,

เพียบพร้อมด้วยยศและโภคสมบัติ;

ไปถึงถิ่นฐานใดใด,

ย่อมได้รับการบูชา ณ ที่นั้นนั้น.

The person with Confidence and Virtue,

Endowed with repute and wealth;

Whenever he arrives,

He is everywhere honoured.

Dhammapada No. 303
The Syām-Script Pāḷi Tipiṭaka 1893
The World Tipiṭaka in Roman-Script 2005
The Digital Preservation 2023 Edition
Reprinted by the Dhamma Society Fund

72 พรรษา พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2567

ตอนที่ 10/11

โครงการเผยแผ่
พระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และชุด ส.ก. พ.ศ. ๒๕๕๙ 
เป็นพระธัมมทานแก่นานาประเทศ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
เนื่องในโอกาส
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงรับเป็นประธานการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสัชฌายะฉบับ ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) และพระไตรปิฎกสัชฌายะฉบับ ส.ก. (คู่มือการออกเสียงปาฬิ) ก็ด้วยทรงพระราชดำริว่า

หนังสือพระไตรปิฎกทั้งสองฉบับนี้ เป็นประโยชน์แก่การอ่านออกเสียงให้ตรงตามการออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก จึงมีคุณค่าทั้งในด้านการศึกษาพระไตรปิฎก และการสืบทอดการอ่านออกเสียงให้ถูกตรง การที่มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับมอบให้แก่สถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นบุญยกิริยาอันเปี่ยมไปด้วยกุศลเจตนา ที่ควรแก่การอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง

ทรงหวังพระราชหฤทัยว่า หนังสือนี้จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติและเพิ่มพูนพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนอำนวยประโยชน์แก่มหาชนทั่วไป สมดังความมุ่งหมายทุกประการ

พระที่นั่งอัมพรสถาน
วันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙

ภูมิปัญญาพระไตรปิฎกไทยสากล

ตอนที่ 11/11

การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ ตามรอยพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติไทยในพระไตรปิฎก ให้เป็น “ภูมิปัญญาไทย-สากล” ไปในนานาประเทศทั่วโลก

สารัญ์จ สารโต ญั-ต๎วา,

sārañca sārato ña-tvā,


อสารัญ์จ อสารโต;

asārañca asārato;


เต สารํ อธิคัจ์ฉัน์ติ,
te sāraṁ adhigacchanti,

สัม์มาสํกัป์ปโคจรา.
sammāsaṁkappagocarā.

ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ,

และสิ่งที่ไร้สาระ ว่าไร้สาระ;

ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ,

มีความดำริถูกต้อง.

Knowing the essential as the essential,

And the unessential as the unessential;

Will achieve the essential,

For they feed on right thoughts.

Dhammapada No. 12
The World Tipiṭaka Project since 1999
The Syām-Script Pāḷi Tipiṭaka 1893 :
The Digital Preservation 2023 Edition
Reprinted by the Dhamma Society Fund